สภาพทั่วไป และข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม
ตราสัญลักษณ์ประจำองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม
ความหมาย
วงกลมด้านนอก หมายถึง องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
วงกลมด้านใน หมายถึง ต้นไม้ ภูเขา กองฟาง นกบิน บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่การเกษตร
1. ด้านกายภาพ
1.1 ประวัติความเป็นมาและที่ตั้ง
ท้าวลือคำหาญราษฎรบ้านเวียงจันทร์ และญาติพี่น้อง อพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแสวงหาที่ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยใหม่และได้มาถึงบริเวณที่ราบสูงแห่งนี้ เห็นว่าเป็นทำเลที่ดีเหมาะแก่การอยู่อาศัยและทำการเกษตร จึงได้ตั้งหลักฐานเป็นที่อยู่อาศัยเรียกชื่อบ้านโพนงาม ตามภูมิลักษณ์ที่ตั้งหมู่บ้าน ต่อมามีราษฎรเมืองอุบลและราษฎรเมืองร้อยเอ็ด ต่างพากันมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนร่วมอาศัยอยู่ด้วย นานเข้ามีชาวบ้านบางกลุ่ม ได้แยกออกไปสร้างบ้านเรือนอยู่ที่นาของตน และเป็นหมู่บ้านใหม่เพิ่มขึ้น เช่นไปอยู่ในโนนป่าแดง ไปอยู่ดอนตาแต้ม การกระจายครัวเรือนในลักษณะนี้ ทำให้เกิดการตั้งหมู่บ้านใหม่เกิดเพิ่มขึ้น จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2520 ทางราชการได้จัดเขตการปกครอง จัดตั้งเป็นตำบล เรียกว่า ” ตำบลโพนงาม “ มาจนถึงปัจจุบัน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 หมู่บ้าน และมีฐานะจากสภาตำบล “เป็น” องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540
ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดยโสธรและอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอกุดชุม ห่างจากจังหวัดยโสธร ประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอกุดชุมประมาณ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 60,625 ไร่ คิดเป็น 97 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
แผนที่ตำบลโพนงาม
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม มีสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีป่าไม้อยู่ทั่วไป ประเภทป่าเป็นป่าเบญจพรรณ สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย อาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก
1.3 ภูมิอากาศ
ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมมี 3 ฤดู คือ
– ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ มีนาคม – เมษายน
– ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ พฤษภาคม – กันยายน
– ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ ตุลาคม–กุมภาพันธ์
1.4 ลักษณะของดิน
สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย อาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นสำหรับอุปโภค-บริโภค และทางองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ได้ดำเนินการปรับปรุง/ขุดลอก เพื่อให้เพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน โดยมี ลำน้ำ ,ลำห้วยจำนวน 4 สาย
1. ลำห้วยไผ่พื้นที่เขตคำผักกูด บ้านแดง ม.7,13,17 บ้านนางาม บ้านม่วง บ้านโคกศรี บ้านโพนงาม ม.1,16 บ้านเกี้ยงเก่า บ้านคำเลา
2. ลำห้วยม่วงพื้นที่บ้านนางาม บ้านม่วง,บ้านโคกศรี
3. ลำห้วยยาง บ้านสร้างแต้,บ้านนาประเสริฐ ,บ้านหนองแซง
4. ลำห้วยผือ บ้านสร้างแต้ ,บ้านหนองหว้า
5.บึง ,หนองน้ำและอื่นๆจำนวน 23 แห่ง
1.6 ลักษณะของไม้/ป่าไม้
องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม มีสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีป่าไม้อยู่ทั่วไป ประเภทป่าเป็นป่าเบญจพรรณ และมีป่าสงวนขนาดใหญ่จำนวน 3 ที่ คือ
1. ป่าโคกนมสาว
2. ป่านาทมหนองตาบัว
3. ป่าดงปอ ดอนตาแต้ม
2. ด้านการเมืองการปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
ปีพุทธศักราช 2520 ทางราชการได้จัดเขตการปกครอง จัดตั้งเป็นตำบล เรียกว่า ” ตำบลโพนงาม ” มาจนถึงปัจจุบัน และยกฐานะจากสภาตำบล “เป็น” องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 หมู่บ้านได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านโพนงาม
หมู่ที่ 2 บ้านนาทม
หมู่ที่ 3 บ้านหนองแซง
หมู่ที่ 4 บ้านเกี้ยงเก่า
หมู่ที่ 5 บ้านม่วง
หมู่ที่ 6 บ้านนางาม
หมู่ที่ 7 บ้านแดง
หมู่ที่ 8 บ้านสร้างแต้
หมู่ที่ 9 บ้านโคกศรี
หมู่ที่ 10 บ้านหนองหว้า
หมู่ที่ 11 บ้านคำเลา
หมู่ที่ 12 บ้านคำไหล
หมู่ที่ 13 บ้านแดง
หมู่ที่ 14 บ้านนาประเสริฐ
หมู่ที่ 15 บ้านหนองแซง
หมู่ที่ 16 บ้านโพนงาม
หมู่ที่ 17 บ้านแดง
2.2 การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็น 1 เขตเลือกตั้ง และการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแบ่งเป็น 17 เขตเลือกตั้ง ตามจำนวนหมู่บ้าน โดยแต่ละหมู่บ้านมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้หมู่บ้านละ 2 คน
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
-จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ……. คน
-จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ………….. คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ครั้งล่าสุด (พ.ศ. 2556)
– จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ………..คน
จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น …… คน คิดเป็นร้อยละ ………………
– จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ………….. คน
จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น …… คน คิดเป็นร้อยละ ………………
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
มีประชากร ทั้งสิ้น 9,251 คน แยกเป็นชาย 4,646 คน หญิง 4,605 คน มีจำนวน 2,449 ครัวเรือน ความหนาแน่น 95.58 คน / ตารางกิโลเมตร
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ข้อมูล ณ เดือน เมษายน พ.ศ. 2559
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
ศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 5 แห่ง
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 8 แห่ง
โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง
4.2 สาธารณสุข จำนวน 2 แห่ง
4.2.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเฉลิมพระเกียรติฯบ้านแดง โดยมี
1.นายสงกรานต์ ทองน้อย ผอ.รพ.สต.เฉลิมพระเกียรติบ้านแดง
ความรับผิดชอบ จำนวน 12 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านนาทม ม.2 บ้านหนองแซง ม.3,15 บ้านนางาม ม.6 บ้านแดง ม.7,13,17 บ้านสร้างแต้ ม.8 บ้านโคกศรี ม.9 บ้านหนองหว้า ม.10 บ้านคำไหล ม.12 บ้านนาประเสริฐ ม.14
4.2.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพนงาม บุคลากรโดยมี
1. นายพนมพร ลครชัย ผอ.รพ.สต.โพนงาม
ความรับผิดชอบ จำนวน 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านโพนงาม ม.1,16 บ้านเกี้ยงเก่า ม.4 บ้านม่วง ม.5บ้านคำเลา ม.11
4.3 อาชญากรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชนบ้าง ครัวเรือนมีการป้องกันภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
การป้องกันอุบัติเหตุ อาชญากรรมในช่วงเทศกาลวันหยุด องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ได้ตั้งจุดตรวจ จุดบริการ จำนวน ๒ จุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน และ มี ศูนย์ อปพร.อบต.โพนงามมีสมาชิก อปพร. ทั้งหมด 162 นาย
โดยมี – นายจีระศักดิ์ กล้าหาญ เป็นประธานอปพร.ศูนย์ อบต.โพนงาม
– สิบเอกวีรยุทธ โพธิ์ศรี ตำแหน่ง เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รับผิดชอบ
4.4 ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านเขตตำบลโพนงาม เป็นอีกปัญหาที่พบเห็นและได้มีการขอความร่วมมือจากสถานีตำรวจภูธรคำผักกูด และที่ทำการปกครองอำเภอกุดชุม จัดอบรมฝึกอาชีพให้กับผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด นอกจากนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ยังได้จัดอบรมให้ความรู้กับประชาชนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติดและช่วยกันสอดส่องดูแลในเรื่องนี้
4.5 การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ได้ดำเนินการด้านสงเคราะห์ ดังนี้
1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
4. ประสานโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
5. ประสานโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน
6. ตั้งโครงการส่งเสริมกลุ่มอาชีพ
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
มีเส้นทางทางหลวงชนบทผ่านจากตำบลทรายมูล (โคกยาว ถึงบ้านนาเวียง) และถึงองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม (16 ก.ม. ) และทางหลวงชนบท กุดชุม-สร้างแต้ (20 ก.ม.) ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านยังเป็นถนนลูกรังการสัญจรไป – มาลำบากมากเพราะสภาพชำรุดทรุดโทรมมีถนนคสล. ภายในหมู่บ้านและบางส่วนยังเป็นถนนลูกรังสภาพไม่ค่อยดีเท่าที่ควร
1. ถนนคอนกรีตเชื่อมหมู่บ้าน จำนวน 2 สาย
สายที่ 1 บ้านโพนงามเชื่อมบ้านเกี้ยงเก่า ระยะทาง 1.5 กม.
สายที่ 2 บ้านแดง ม.17 เชื่อมบ้านโคกศรี ม.9 ระยะทาง 1.5 กม.
2. ถนนลาดยางเชื่อมระดับตำบลจำนวน 2 สาย
สายที่ 1 กุดชุม – บ้านแดง – บ้านโพนงาม ระยะทาง 23 กม.
สายที่ 2 โคกยาว – โพนงาม – นาเวียง ระยะทาง 18 กม.
และเพื่อให้การสัญจรไปมาของประชาชนสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ได้ทำการก่อสร้าง /ปรับปรุง /แก้ไข ในส่วนของถนนทุก ๆ ปี เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน แต่ด้วยงบประมาณมีจำกัด จึงทำให้การพัฒนาทางด้านการคมนาคมยังทำได้ไม่มากเท่าที่ควร
5.2 การไฟฟ้า
– ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 96.65 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด
5.3 การประปา
-ระบบประปาภายในหมู่บ้านทุกหมู่บ้านเป็นแบบระบบประปาบาดาลทั้งหมดบางช่วงเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง ทำให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามได้เข้าไปแนะนำแก้ไขปัญหาให้ และหางบประมาณมาสนับสนุน
5.4 โทรศัพท์
เนื่องจากในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารมีความจำเป็นและมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การใช้โทรศัพท์จึงมีความจำเป็นต่อประชาชน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นของตัวเอง ทำให้ตู้โทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่ถูกยกเลิกไปทั้งหมด
5.5 ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์
– มีที่ทำการไปรษณีย์ย่อย จำนวน 1 แห่งเปิดให้บริการ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. เปิดทุกวัน ตั้งอยู่บ้านแดง ม.7ต.โพนงาม อ.กุดชุม จ.ยโสธร
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่โดยมีอาชีพหลัก คือทำนา 85% อาชีพรอง คือทำไร่ 9.5% อื่นๆ 5.5%
6.2 การประมง
ในเขตพื้นที่ไม่มีการประมง
6.3 การปศุสัตว์
เป็นการประกอบอาชีพในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหมู เป็ด โค กระบือ สุกร
6.4 การบริการ
การบริการในเขตพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นการทำในครัวเรือน ไม่การให้บริการขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นร้านตัดผม ร้านเสริมสวย ร้านเกมส์ หรือร้านอาหาร
6.5 การท่องเที่ยว
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ไม่แหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่าง ๆ
6.6 อุตสาหกรรม
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
กลุ่มอาชีพ
6.8 แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นบานพบว่า ประชาชนที่มีอายุ 15-60 ปี อยู่ในช่วง กำลังแรงงาน แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง 25-50 ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่มีการจ้างแรงงานน้อย
7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน
1. บ้านโพนงาม หมู่ที่ 1 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 521 คน ชาย 263 คน หญิง 258 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 145 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 1,901 ไร่
2. บ้านนาทม หมู่ที่ 2 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 511 คน ชาย 255 คน หญิง 256 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 127 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 1,500 ไร่
3. บ้านนาทม หมู่ที่ 3 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 724 คน ชาย 352 คน หญิง 372 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 189 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 1,870 ไร่
4. บ้านบ้านเกี้ยงเก่า หมู่ที่ 4 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 508 คน ชาย 244 คน หญิง 264 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 144 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 1,4๐๐ ไร่
5. บ้านม่วง หมู่ที่ 5 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 528 คน ชาย 271 คน หญิง 257 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 140 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 1,350 ไร่
6. บ้านนางาม หมู่ที่ 6 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 322 คน ชาย 170 คน หญิง 152 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 99 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 1,330 ไร่
7. บ้านแดง หมู่ที่ 7 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 614 คน ชาย 289 คน หญิง 325 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 158 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 3,480 ไร่
8. บ้านสร้างแต้ หมู่ที่ 8 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 844 คน ชาย 422 คน หญิง 422 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 231 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 3,531 ไร่
9. บ้านโคกศรี หมู่ที่ 9 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 333 คน ชาย 159 คน หญิง 174 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 89 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 1,225 ไร่
10. บ้านหนองหว้า หมู่ที่ 10 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 862 คน ชาย 438 คน หญิง 424 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 207 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 6,796 ไร่
11. บ้านคำเลา หมู่ที่ 11 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 457 คน ชาย 237 คน หญิง 220 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 115 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 1,519 ไร่
12. บ้านคำไหล หมู่ที่ 12 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 269 คน ชาย 147 คน หญิง 122 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 67 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 657 ไร่
13. บ้านแดง หมู่ที่ 13 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 774 คน ชาย 390 คน หญิง 384 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 188 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 3,200 ไร่
14. บ้านนาประเสริฐ หมู่ที่ 14 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 255 คน ชาย 129 คน หญิง 126 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 85 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 2,478.13 ไร่
15. บ้านหนองแซง หมู่ที่ 15 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 738 คน ชาย 375 คน หญิง 363 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 168 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 2321 ไร่
16. บ้านโพนงาม หมู่ที่ 16 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 548 คน ชาย 271 คน หญิง 277 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 153 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 3,088 ไร่
17. บ้านแดง หมู่ที่ 17 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
จำนวนประชากรทั้งหมด 443 คน ชาย 234 คน หญิง 209 คน
ครัวเรือนทั้งหมด 144 ครัวเรือน พื้นที่ทั้งหมด 2,100ไร่
7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร
หมู่ที่ 1 บ้านโพนงาม มีพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้
หมู่ที่ 2 บ้านนาทม มีพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้
หมู่ที่ 3 บ้านหนองแซง มีพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้
หมู่ที่ 4 บ้านเกี้ยงเก่า มีพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้
หมู่ที่ 5 บ้านม่วง มีพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้
หมู่ที่ 6 บ้านนางาม มีพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้
หมู่ที่ 7 บ้านแดง มีพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้
หมู่ที่ 8 บ้านสร้างแต้ มีพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้
หมู่ที่ 9 บ้านโคกศรี มีพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้
หมู่ที่ 10 บ้านหนองหว้า มีพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้
หมู่ที่ 11 บ้านคำเลา มีพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้
หมู่ที่ 12 บ้านคำไหล มีพื้นที่ทำการเกษตร ดังนี้
7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
หมู่ที่ 1 บ้านโพนงาม
8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธและองค์การทางศาสนา
วัดจำนวน 15 แห่ง
สำนักสงฆ์ จำนวน 6 แห่ง
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตตำบลโพนงาม ยังคงดำรงวิถีทางแบบโบราณ การจัดงานประเพณีต่าง ๆ จึงดำเนินรอยตามบรรพบุรุษ นอกจากนี้ยังจัดประเพณีตามวันสำคัญต่าง ๆ ด้วย เช่น วันปีใหม่ วันสงกรานต์ และร่วมกิจกรรมของจังหวัดและอำเภอด้วย เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ งานศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นต้น
8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประชาชนในเขตตำบลได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสานใช้สำหรับในครัวเรือน วิธีการทอเสื่อจากต้นกก และวิธีการจับปลาธรรมชาติ การปลูกพืชอินทรีย์แบบผสมผสาน
ภาษาถิ่น
ส่วนมากพูดภาษาอิสาน
8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ประชาชนในเขตตำบลได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่ายบ้าง ได้แก่ เสื่อ กระเป๋า และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ทอจากต้นกก ผ้าที่ทอจากผ้าฝ้าย เครื่องจักสานที่ทำจากไผ่
9. ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 น้ำ
9.2 ป่าไม้
9.3 ภูเขา
9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นตามแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐ )
1. สรุปผลการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับ และการเบิกจ่ายงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557- 2560
1.1 สรุปสถานการณ์การพัฒนา การตั้งงบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณ
1.2 การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงปริมาณ
1.3 การประเมินประสิทธิผลของแผนพัฒนาท้องถิ่นในเชิงคุณภาพ
2. ผลที่ได้รับการการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 – 2560
2.1 ผลที่ได้รับ /ผลที่สำคัญ
2.2 ผลกระทบ
3. สรุปปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานที่ผ่านมาและแนวทางการแก้ไข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 – 2560
ส่วนที่ 3 ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค
1.1 แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
1.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒
1.3 THAILAND ๔.๐
1.4 แผนพัฒนาภาค / แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด
1.5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
2. การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาท้องถิ่น
การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคต ด้วยเทคนิค SWOT Analysis ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาแต่ละด้าน ดังนี้
จุดแข็ง Strengths (S)
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1) มีถนนเชื่อมทุกหมู่บ้าน
2) มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด
3) มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
4) มีประปาใช้ทุกครัวเรือน
2. ด้านเศรษฐกิจ
1) ผลิตผลทางการเกษตรเพียงพอต่อการบริโภค
2) แรงงานมีมาก
3) มีการรวมกลุ่มอาชีพในตำบล
3. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
1) เป็นสังคมชนบทแบบเครือญาติ
2) มีภูมิปัญญาท้องถิ่น/ทุนสังคม
3) องค์กรชุมชน/เอกชนเพื่อการสังคมและส่งเสริมอาชีพ
4) มีการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
4. ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
1) มีสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพียงพอ
2) มีศาสนสถานประกอบกิจกรรมทางศาสนาเพียงพอ
3) ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
4) มีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น
5. ด้านการบริหารจัดการการเมือง การปกครอง
1) จัดโครงสร้างองค์กรอย่างเป็นระบบ
2) มีแผนการบริหารงานบุคคลอย่างต่อเนื่อง
3) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล
4) ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
5) มีการจัดอัตรากำลังที่เหมาะสม
6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) มีทรัพยากรป่าไม้สมบูรณ์
2) มีลำคลองไหลผ่าน
3) มีสระเก็บกักน้ำสาธารณะ
จุดอ่อน Weaknesses (W)
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1) ถนนเชื่อมหมู่บ้านยังไม่ได้มาตรฐาน
2) คุณภาพน้ำอุปโภคยังไม่ได้มาตรฐาน
2. ด้านเศรษฐกิจ
1) การรวมกลุ่มอาชีพหรืออาชีพเสริมยังไม่เข้มแข็ง
2) ระบบชลประทานไม่ทั่วถึง
3) ขาดการส่งเสริมด้านการตลาด
3. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
1) ประชาชนยังขาดความรู้เรื่องวิถีชีวิตด้านประชาธิปไตย
2) ประชาชนขาดจิตสำนึกการมีส่วนร่วม
3) บุคลากรทางด้านสาธารณสุขไม่เพียงพอ
4) ประชาชนขาดความตระหนักในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
4. ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
1) ขาดบุคลากรทางการศึกษาเฉพาะด้าน
2) เทคโนโลยีสื่อการเรียนการสอนยังไม่ทันสมัย
3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนไม่ทั่วถึงและไม่ได้มาตรฐาน
4) วัฒนธรรมประเพณีบางอย่างขาดการอนุรักษ์และฟื้นฟู
5. ด้านการบริหารจัดการการเมือง การปกครอง
1) ประชาชนยังไม่เข้าใจ กฎ ระเบียบ การปฏิบัติที่ชัดเจน
2) องค์กรขาดการประชาสัมพันธ์ในการบริหาร
3) ผู้บริหาร/สมาชิกฯ ขาดความตระหนักในบทบาทหน้าที่
4) พื้นที่รับผิดชอบมากงบประมาณในการบริหารจัดการน้อย
5) การส่งเสริมทักษะการปฏิบัติหน้าที่ขาดความต่อเนื่อง
6) ขาดความต่อเนื่องในการบริหารอย่างจริงจัง
6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) การบริหารจัดการทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพ
2) ประชาชนขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
3) แหล่งน้ำตื้นเขิน
4) มีการบุกรุกที่สาธารณะและตัดไม้ทำลายป่า
โอกาส Opportunities (O)
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1) มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อทุกหมู่บ้านและไฟฟ้าเข้าถึง
2) ที่ตั้งเชื่อมต่อพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและสะดวกในการคมนาคม
2. ด้านเศรษฐกิจ
1) แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดี
2) แรงงานมีจำนวนมากและค่าแรงต่ำ
3) แหล่งผลิตสินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง
4) ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีผลิตผลเพียงพอสามารถจำหน่ายได้
3. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
1) เป็นสังคมชนบท สังคมเกษตรที่เอื้ออาทร
2) มีภูมิปัญญาท้องถิ่น
3) มีความพร้อมสถานบริการสาธารณสุข
4. ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
1) ท้องถิ่นมีประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม
2) สถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพียงพอ
3) ประชนชนทุกคนมีศาสนาเป็นเรื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ หลักคุณธรรม จริยธรรม
5. ด้านการบริหารจัดการการเมือง การปกครอง
1) การบริหารจัดการ ตามหลักธรรมมาภิบาล
2) นำเทคโนโลยีมาใช้การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) ปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี
2) สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปได้รับการอนุรักษ์
อุปสรรค Threats (T)
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1) เส้นทางการคมนาคมไม่สะดวก
2. ด้านเศรษฐกิจ
1) แรงงานส่วนใหญ่ขาดทักษะ
2) น้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้งไม่เพียงพอ
3) ระบบชลประทานมีน้อย
3. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
1) ประชาชนวัยพึ่งพิงมีมาก
2) องค์กรชุมชนส่วนมากไม่เข้มแข็ง
4. ด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
1) ประชาชนให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษาภาคบังคับน้อย
2) ขาดความร่วมมือในการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ด้านการบริหารจัดการการเมือง การปกครอง
1) ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งยังมีการซื้อสิทธิขายเสียง
6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ขาดความอุดมสมบูรณ์
2) การอนุรักษ์ดินและน้ำยังขาดการมส่วนร่วมจากประชาชน
3) น้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้งไม่เพียงพอ
4) แหล่งเก็บกักน้ำไม่สามารถเก็บกักน้ำได้นาน
5) ระบบชลประทานมีน้อยลำห้วยตื้นเขิน
3.2 การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง
3.3 ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.4 แผนผังยุทธศาสตร์
3.5 ประเด็นยุทธศาสตร์แนวทางการพัฒนาและตัวชี้วัด
3.6 รายละเอียดแผนยุทธศาสตร์
3.7 หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
ส่วนที่ 4 การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ไปสู่การปฏิบัติ
1. แนวทางการพัฒนาและยุทธศาสตร์การพัฒนา
2. บัญชีโครงการพัฒนา และบัญชีประสานโครงการพัฒนา
ส่วนที่ 5 การติดตามและประเมินผล
1. การติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์
2. การติดตามและประเมินผลโครงการ
3. สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในภาพรวม
4. ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในอนาคต